หลายๆคนที่ใช้อีเมลโฮสติ้ง (Email Hosting) สำหรับองค์กรอยู่นั้นมักมีความกังวลหรืออาจจะสงสัยว่า Email Hosting ที่เราใช้อยู่ปลอดภัยมั้ย เพราะความปลอดภัยในการใช้งานอีเมลภายในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ แล้วเราจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไรเราตามมาดูกัน
การโจมตีที่เกิดขึ้นบ่อย
- โดน Bomb Email ออกไปจำนวนมาก
หลายๆคนที่ใช้งาน Mail Hosting อยู่นั้นมักต้องเคยเจอกับปัญหาส่งอีเมลไม่ได้เพราะ Limit เต็มหรือส่งเกินที่ผู้ให้บริการกำหนดมาซึ่งการโจมตีลักษณะนี้มักเกิดจาก Hacker ทราบ Password Email ของท่านและหากแก้ไขไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าคุณได้ทำการเปลี่ยน Password แล้วก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอยู่ดี
- ถูกปลอมแปลง Email ในองค์กรส่งไปหาคู่ค้าตนเอง (Outbound Fake Email)
อาจจะมีบุคคลอื่นพยายามเลียนแบบ Email เป็นชื่อ User ในองค์กรของคุณหรือปลอมเป็นชื่อ Email ของคุณแล้วส่งไปหาลูกค้าของคุณ โดยแจ้งว่าบริษัทของท่านมีการเปลี่ยนแปลงเลขที่บัญชีและให้โอนเงินไปยังบัญชีของ Hacker แทน เป็นต้น
- คู่ค้าของคุณถูกปลอมแปลงหรือถูก Hack (Inbound Fake Email)
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าถ้าคู่ค้าหรือคนที่เราคุยอยู่ถูก Hack Email แล้วจะมีผลกระทบหรือเกี่ยวอะไรกับองค์กรของเรา ซึ่งจริงๆแล้วส่งผลกระทบต่อองค์กรของคุณอย่างรุนแรง เพราะ Hacker อาจจะสร้าง Email ปลอมให้เหมือนกับชื่อของคู่ค้าแล้วส่งมาให้พนักงานในองค์กรโอนเงินไปยังบัญชีของ Hacker แทน
ความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
- การตั้งค่า DNS Record
โดยปกติจะมีวิธีการตั้งค่า DNS ที่เรียกว่า SPF Record, DMARC และ DKIM เพื่อช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ Hacker ปลอมแปลง Email ของท่านให้เหมือนกัน แต่อย่างไรวิธีการนี้ก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะระบบปลายทางอาจจะปิดการตรวจสอบ หรือ Hacker ก็สามารถจด Domain ที่เลียนแบบองค์กรท่านได้อยู่ดี
- Firewall ของเราเปิดการตรวจสอบ SPF, DMARC, DKIM
เพื่อปกป้องไม่ให้ Email ที่คาดว่าถูกปลอมแปลงส่งเข้ามาในระบบเรา เราต้องมั่นใจว่าผู้ให้บริการมีการเปิดการตรวจสอบค่าความปลอดภัยพื้นฐานของผู้ส่งด้วย คือ SPF, DMARC, DKIM
โดยการตั้งค่า DNS ดังกล่าวก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้คู้ค้าของท่านถูก Hack ได้อยู่ดี และคู่ค้าของท่านอาจจะถูกเป็นผู้ปลอมแปลงและส่ง Email เพื่อหลอกให้ User ของท่านโอนเงิน โดยเทคโนโลยีแลนด์ได้สร้าง ระบบตรวจสอบการปลอมแปลงอีเมลขาเข้าโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถตรวจสอบการปลอมแปลงขาเข้าและลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี โดยที่ระบบทั่วไปจะตรวจสอบในระดับ DNS เท่านั้น แต่ไม่สามารถตรวจสอบการการปลอมแปลง เช่น Domain ของคู่ค้าคือ abc.com แต่ถูกเปลี่ยนเป็น aba.com (เปลี่ยนจาก c เป็น a) และทำให้ User ของท่านเข้าใจผิดและสื่อสารกับ Hacker แทน
เราจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าระบบนั้นปลอดภัย
วิธีการที่แสนจะง่ายในการตรวจสอบว่า Email Hosting ที่เราใช้งานอยู่นั้นปลอดภัย คือ ลองใช้ส่ง Email ไปยังปลายทางที่เป็น @gmail เช่น คุณใช้ Email : mkt@yourcompany.com ให้คุณ Login และส่ง Email ไปยัง Email อะไรก็ได้ที่เป็น @gmail.com หลังจากนั้นใน Gmail ให้คุณกดเข้าไปยังข้อความที่คุณส่งมาและกด Show Original (ตามภาพด้านล่าง)
หลังจากนั้นหน้าจอจะแสดงผลข้อมูลของ Server ผู้ส่งอย่างละเอียด โดยประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
- SPF ซึ่งจากภาพแสดงเป็น PASS แปลว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของ SPF ซึ่งเกี่ยวกับการปลอมแปลง Server
- DKIM ซึ่งจากภาพแสดงเป็น PASS แปลว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยการเข้ารหัส DKIM
- DMARC ซึ่งจากภาพแสดงเป็น PASS แปลว่าผ่านมาตรฐานของ DMARC เช่นกัน
วิธีการตรวจสอบเพิ่มเติม
วิธีการเพิ่มเติมง่ายๆ คือ เข้าเว็บ https://mxtoolbox.com/SuperTool.aspx?action=dmarc และใส่ชื่อ Domain เข้าไปหลังจากนั้นจะแสดงผลการตรวจสอบด้านความปลอดภัยดังภาพด้านล่าง
ซึ่งค่าดังกล่าวควรเป็น Reject เท่านั้นซึ่งหมายถึงหากพบการปลอมแปลง Email หรือทำผิดนโยบายด้านความปลอดภัยที่เรากำหนดไว้ใน DMARC ให้ทำการตีกลับทันที เป็นต้น
จุดมุ่งหมายสูงสุดคืออะไร
จุดมุ่งหมายสูงสุดของการใช้งาน Email Hosting คือ ความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งความปลอดภัยที่สำคัญและหากเกิดขึ้นแล้วล้วนส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ คือ การถูกปลอมแปลง Email ไม่ว่าฝั่งตนเองหรือลูกค้าของเราถูกปลอมแปลง และเมื่อเกิดการปลอมแปลงขึ้นย่อมทำให้เกิดโอกาสที่จะทำให้ User ของฝั่งเราหรือปลายทางสื่อสารกับ Hacker แทน (บทความทำอีเมลองค์กรถึงถูกปลอมแปลง) และการป้องกันที่จะไม่ให้เกิดขึ้นด้วยวิธีพื้นฐาน เช่น SPF, DMARC และ DKIM นั้นไม่สามารถทำงานได้ 100% ซึ่งทำได้เพียงลดความเสี่ยงเท่านั้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่จะช่วยป้องกันได้ดีที่สุด คือ การให้ความรู้แก่ User ให้มีความเข้าใจและทราบว่าการสื่อสารทางอีเมลนั้นมีความเสี่ยงที่จะถูก Hack ได้ตลอดเวลาและ User ควรทราบวิธีสังเกตด้วยเช่นกัน
ข้อมูลโดยสรุป
การตรวจสอบความปลอดภัยของ Email Hosting ที่ใช้งานอยู่ว่าปลอดภัยหรือไม่ทำได้ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ลองใช้ Email องค์กรตนเองส่ง Email ไปยัง Gmail และตรวจสอบจาก Message Source ตามวิธีการด้านบน และผู้ให้บริการส่วนใหญ่อาจจะละเลยในการตั้งค่าความปลอดภัยพื้นฐานให้ถูกต้อง เช่น SPF, DMARC และ DKIM โดยวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะลดความเสี่ยงในการถูกโจรกรรม การปลอมแปลง Email นั้นคือการให้ความรู้แก่ User ซึ่งจะสามารถทำให้องค์กรของท่านสามารถต่อสู้กับอาชญากรรมต่างๆที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารทาง Email ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด